วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

จะเสียภาษีต้องมีเงินเดือนเท่าไร?

ภาษี หลายคนยังดูเป็นเรื่องยากและซับซ้อน บางคนยังไม่ทราบว่าเงินเดือนเท่าไรถึงจะต้องเสียภาษีด้วยซ้ำ งั้นเรามาหาคำตอบจากบทความนี้กัน
 

คน ธรรมดาอย่างเรา เค้าเสียภาษีกันยังไง เราคนธรรมดาไม่ได้ทำการค้าอะไร ไม่ได้ตั้งเป็นบริษัท แต่เป็นคนทำงานในบริษัทหรือหน่วยงานของรัฐ มีเงินเดือนที่นายจ้างจ่ายให้ทุกเดือนจะต้องเสียภาษี นายจ้างที่จ่ายเงินให้เราหน้าที่ของนายจ้างเมื่อมีการจ่ายเงินได้ เขาต้องหักเงินส่วนหนึ่งออกจากรายได้ของเราเป็นภาษี จ่ายให้เมื่อใดก็ให้หักไว้เมื่อนั้น แล้วมีหน้าที่นำภาษีที่หักไว้ส่งให้กรมสรรพากร
กฎหมาย กำหนดวิธีการคำนวณที่แตกต่างกันตามประเภทเงินที่เราได้รับเช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า คิดอย่างหนึ่ง เงินได้อื่นๆ คิดอีกแบบหนึ่งอัตราการหักภาษีก็ไม่เหมือนกัน เงินที่หักออกจากรายได้ของเรานี้ เราเรียกว่า “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย”

ความ หมาย “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” นายจ้างจ่ายเงินให้เราเมื่อไหร่ ก็หักเมื่อนั้น เป็นการหักภาษีในขณะที่จ่ายเงินให้เรา แต่หักภาษีตามอัตราที่กำหนด ไม่ได้หักหมด มันเป็นวิธีการเสียภาษีเงินได้วิธีหนึ่งที่กฎหมายกำหนด มีวิธีคิดตามประเภทเงินที่เราได้รับ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า คิดอย่างหนึ่ง แต่ถ้าเราได้รับเงินอื่นๆ เช่น ได้จากการที่เรารับจ้าง ได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารเขาจะคิดอีกแบบหนึ่ง อัตราการหักภาษีไม่เหมือนกัน

นาย หน้าจะต้องหักเงินภาษีไว้ทันทีที่มีการจ่ายเงินให้เรา แล้วยังต้องออกหนังสือรับรองไว้เป็นหลักฐานว่าได้หักเงินภาษีของเราไว้ เพื่อให้เรานำไปยื่นพร้อมกับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ที่ต้องยื่นชำระภาษี เงินได้ ตอนสิ้นปีเป็นหลักฐานว่าเราได้ถูกหักภาษีไว้แล้ว ซึ่งเป็นหน้าที่ของคนทุกคนที่มีรายได้ก็ต้องเสียภาษี เว้นแต่มีรายได้บางอย่างที่กฎหมายยกเว้นให้ก็ไม่ต้องถูกหักภาษีไว้ในขณะที่ มีการจ่าย

ผู้ มีเงินได้ต้องใช้แบบ ภงด.91 ในการยื่นภาษี โดยเกณฑ์เงินได้พึงประเมินที่เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี คือต้องมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท หรือ 240,000 บาทต่อปี เพราะเมื่อหักค่าใช้จ่าย 60,000 บาท และหักลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาทแล้ว จะเหลือเงินได้ที่ต้องเสียภาษี 150,000 บาท ซึ่งอยู่ในช่วงที่ไม่ต้องเสียภาษี แต่ หากใครมีส่วนลดหย่อน เช่นดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน ประกันชีวิต ฯลฯ ก็จะทำให้ฐานเงินเดือนเฉลี่ยต่อเดือนที่ไม่ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น เช่น นำดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน 50,000 มาเป็นค่าลดหย่อน จะทำให้ต้องมีเงินเดือนสูงกว่า 21,700 บาท ถึงจะเสียภาษีเป็นต้น

ฐานภาษีที่ใช้ในการคำนวณภาษี

โปรแกรมบัญชี MAC-5
รายได้ต่ำกว่า 150,000 บาท    ไม่ต้องเสียภาษี
รายได้สุทธิในช่วง 150,001 – 300,000 บาท เสียภาษี 5%
รายได้สุทธิในช่วง   300,001 – 500,000 บาท เสียภาษี 10%
รายได้สุทธิในช่วง 500,001 – 750,000 บาท เสียภาษี 15%
รายได้สุทธิในช่วง 750,001 – 1,000,000 บาท เสียภาษี 20%
รายได้สุทธิในช่วง 1,000,001 – 2,000,000 บาท เสียภาษี 25%
รายได้สุทธิในช่วง 2,000,001 – 4,000,000 บาท เสียภาษี 30%
รายได้สุทธิในช่วง 4,000,001 – 20,000,000 บาท เสียภาษี 35%
รายได้มากกว่า      20,000,001 บาทขึ้นไป เสียภาษี 37%

เขียนโดย; มนัสภร ประเสริฐ (ปอ)
อ้างอิงและเรียบเรียงข้อมูลจาก; http://www.google.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น