วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

[how to] 5 วิธีเปลี่ยนตัวคุณให้มั่นใจในตัวเองยิ่งขึ้น





ความมั่นใจมีสถานะเหมือนเครื่องจ่ายกระแส ไฟฟ้าที่คอยหล่อเลี้ยงให้ร่างกายของคุณยังทำงานได้อย่างทรงประสิทธิภาพ หากแต่ความมั่นใจดังกล่าวนี้มีจุดกำเนิดอยู่ภายในร่างกายของตัวคุณเอง ที่น่าสนใจคือความมั่นใจไม่ได้มาจากไขสันหลัง จากกล้ามเนื้อ หรือจากปอดม้ามใดใดทั้งสิ้น มันมาจาก หัวใจของคุณเพียวๆ เลยต่างหากล่ะ
เมื่อระยะเวลาผ่านไป ความมั่นใจของคนเราก็ค่อยๆ ลดน้อยถอยลงตามกาลเวลา ต่อไปนี้เป็นกลยุทธ์ที่จะพัฒนาความมั่นใจและรักษามันไว้จนกว่าคุณจะปฏิบัติ ภารกิจได้สำเร็จลุล่วง


1.ขายฝันให้กับตัวเอง
คุณต้องส่งสารบางอย่างให้กับตัวเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างความมั่น ใจ ปริ๊นท์ ขยาย หรือติดข้อความที่ให้กำลังใจตัวคุณเองไว้ที่ข้างฝาเพื่อทำให้มั่นใจว่าคุณ เป็นคนที่เจ๋งและจะไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคง่ายๆ การพยายามตอกย้ำตัวเองถึงความผิดพลาดในอดีตที่เคยทำมารังแต่จะทำให้ชีวิตตก ต่ำลงเรื่อยๆ อย่ามัวโทษโชคชะตาและลมฝน หาชีวิตใหม่ที่เหมาะกับคุณกันดีกว่า
2.อย่าไปอยู่ใกล้คนมองโลกแง่ร้าย
คนพวกนี้จะพยายามลดความมั่นใจของคุณเพราะพวกเขาก็เป็นเช่นนั้น มีคำกล่าวที่ว่าตัวคุณเป็นค่าเฉลี่ยของเพื่อนสนิทจำนวน 5 คนของคุณ ทั้งในเรื่องฐานะ รายได้ ความสุข และสุขภาพ แค่สู้รบกับเสียงในหัวตัวเองก็เหนื่อยพอแล้ว อย่าไปสู้รบกับเสียงของคนอื่นอีกเลย
3.ทำรายการ “5 ข้อสุดยอด
ทำรายการ 5 สิ่งที่คุณสามารถทำได้ในวันนี้และมันสุดยอดมาก ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องยากแต่เป็นเรื่องที่เมื่อคุณทำมันสำเร็จแล้วคุณจะมี ความภูมิใจกับมัน
4.เขียน 3 ความสำเร็จทุก 5 โมงเย็น
บันทึกความสำเร็จ 3 ข้อทุกๆ 5 โมงเย็นจนเป็นนิสัยเพื่อทบทวนว่าวันนี้คุณได้ทำอะไรคืบหน้าไปบ้างแล้ว หากคุณเกิดหมดกำลังใจให้กลับมาอ่านทบทวนว่าคุณได้ทำอะไรจนสำเร็จไปบ้างแล้ว
5.ยืนขึ้นเพื่อตัวคุณเอง (ยืนจริงๆ นะ)
เชื่อไหมว่าท่าทางของคุณก็ส่งผลต่อความมั่นใจในตัวเองเช่นกันนะ หากคุณไม่เชื่อลองยืนหลังตรง มือกำแล้วชูขึ้น พร้อมกับเงยหน้าขึ้น คุณจะรู้สึกถึงพลังที่ไหลเวียนเข้ามาในร่างกายเลยจริงๆ ไม่เชื่อต้องลองดู


ที่มา : http://www.marketingoops.com

วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558

เคล็ดไม่ลับการบริการลูกค้า 4 ประเภท ให้ตรงใจ

เคล็ดไม่ลับการบริการลูกค้า 4 ประเภท ให้ตรงใจ
คงมีคำถามจากหลาย ๆ ท่านว่าจะบริการอย่างไรให้ตรงใจกับลูกค้า ทั้งที่เราได้พยายามงัดกลยุทธ์เอาไม้ตายต่าง ๆ ออกมาเพื่อให้บริการลูกค้า แต่ยังพบว่ารูปแบบการบริการแบบเดียวกันไม่สามารถสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้ทุกคน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วเราจะบริการให้ตรงใจลูกค้าได้อย่างไร ในอันดับแรกขอแนะนำให้ท่านรู้จักคุณลักษณะพื้นฐานของประเภทลูกค้าเสียก่อนเพื่อนำเสนอการบริการให้ตรงกับลูกค้าในแต่ละกลุ่ม ในที่นี้ขอจำแนกลักษณะของลูกค้าออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.        ประเภทเสือ (Dominance)
ลักษณะ
-           กล้าตัดสินใจ เน้นผลลัพธ์ มุ่งมั่น ทำอะไรรวดเร็ว พูดจาเสียงดัง ไม่ประนีประนอม กล้าเสี่ยง ชอบการแข่งขัน ยึดตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่ค่อยฟังผู้อื่น ตรงไปตรงมา บางทีอาจดูขวาน
การรับมือกับลูกค้ากลุ่มนี้
-          การบริการสำหรับลูกค้าประเภทเสือ ท่านจะต้องแสดงออกถึงความมั่นใจ น้ำเสียงฉะฉาน การนำเสนอเน้นที่ผลลัพธ์หรือประโยชน์ที่ได้รับ การนำเสนอหรือชี้แจงควรเป็นแบบตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม ไม่ลงรายละเอียดขั้นตอน และประเภทเสือนี้จะไม่ชอบแบบการติดตามที่ใกล้ชิด หรือไม่ต้องการการแจ้งความคืบหน้าแบบถี่จนเกินไป ควรเว้นระยะให้เกิดการตัดสินใจ หากเป็นการรายงานผลให้รายงานผลเมื่อได้ข้อสรุปแล้ว
2.        ประเภทนกยูง (Influence)
ลักษณะ
-          เป็นคนช่างพูด ชอบเข้าสังคม ดูเป็นมิตร เปิดเผย จูงใจคนเก่ง ชอบขายไอเดีย เป็นคนร่าเริง มีอารมณ์อ่อนไหว มักหลีกเลี่ยงรายละเอียด เวลาคุยกันมักพูดออกนอกประเด็นไปเรื่อย ไม่ค่อยรักษากฎ ไม่ชอบคนน่าเบื่อและเข้มงวด
การรับมือกับลูกค้ากลุ่มนี้
-          ท่านควรนำเสนอควรสร้างบรรยากาศที่มีชีวิตชีวา ไม่น่าเบื่อ ใช้คำพูดที่อ่อนหวาน สร้างความสนิทสนมเพื่อผูกความสัมพันธ์ให้ทราบเป้าหมายหรือผลงานที่ลูกค้าคาดหวังอย่างแท้จริง จากนั้นให้เรานำเสนอการบริการที่เน้นการสานฝันหรือสานความสัมพันธ์ที่ตอบสนองต่อเป้าหมายหรือผลงานของลูกค้าเป็นสำคัญ  
3.        ประเภทโลมา (Steadiness)
ลักษณะ
-          ใจเย็น สงบ เสมอต้นเสมอปลาย ทำอะไรเป็นระบบ ละเอียดรอบคอบ ถ่อมตัว ประนีประนอม ชอบเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด จะพูดเมื่อถูกถาม มักแสดงความเห็นด้วยกับผู้อื่นตลอดเวลา ต้องการคำแนะนำจากผู้อื่น ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
การรับมือกับลูกค้ากลุ่มนี้
-          การเข้าถึงลูกค้าประเภทโลมา ให้ใช้ใจสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เอาใจใส่ทำความเข้าต่อลูกค้า เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าท่านช่วยเหลือดูแลได้ทุกครั้งที่มีโอกาส โดยปราศจากความรู้สึกไม่ปลอดภัยหรือไม่มีความเสี่ยง หากลูกค้าได้ใจจากเราไปแล้วการนำเสนอการบริการหรือการนำเสนอขายก็จะตามมา
4.        ประเภทนกฮูก (Compliance)
ลักษณะ
-          ชอบความสมบูรณ์แบบ ยึดติดกับรายละเอียด มีเหตุผล มีหลักการ เน้นความชัดเจนถูกต้อง ให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริง เป็นคนละเอียดถี่ถ้วน มีระเบียบ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ไม่ชอบเสี่ยง ทำอะไรระมัดระวัง
การรับมือกับลูกค้ากลุ่มนี้

-          การที่จะเข้าถึงลูกค้าประเภทนกฮูก ท่านต้องเตรียมตัวทำการบ้านเป็นอย่างดี เน้นเรื่องระเบียบพิธีการ คนในกลุ่มนี้จะมีพื้นฐานในการพินิจ พิเคราะห์ที่ดี การนำเสนอควรให้ข้อมูลที่ครบถ้วนชัดเจน และต้องตอบได้ทุกประเด็นว่าเป็นอย่างไร-HOW คุณจึงจะได้รับใจจากคนกลุ่มนี้

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

หลับหรือ.. คือ.. การพักผ่อน..

ทุกครั้งที่หลับตา เรามักคิดว่าเรานอนหลับสนิทแล้วทุกอย่างก็จะพักตามเรา แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลย.. เวลาที่คนเรานอนหลับจะแบ่งช่วงเวลาการนอนหลับได้ 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ ช่วงที่หลับลึก กับ ช่วงที่ฝัน แต่ละช่วงจะประกอบไปด้วยลักษณะการเปลี่ยนแปลงในคลื่นสมอง การเคลื่อนไหวของลูกตาที่ต่างกัน อะไรคือสาเหตุของการนอนไม่หลับ นอนอย่างไรถึงจะเรียกว่าเต็มอิ่ม แล้วนอนแบบไหนถือเป็นปัญหา ลองมาดูกันดีกว่าว่า “นอน” แบบไหนดีต่อสุขภาพ
เราอาจสังเกตได้ด้วยตัวเองว่า นอนหลับได้เพียงพอหรือไม่ โดยอาศัยความรู้สึกของตัวเองเมื่อตื่นนอนตอนเช้า ถ้าตื่นนอนด้วยความรู้สึกสดชื่น แจ่มใส พร้อมที่จะทำงานต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ แสดงว่าได้รับการพักผ่อนนอนหลับมาอย่างเพียงพอ “เต็มอิ่ม” แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีความรู้สึกปวดหัวทุกวันหลังตื่นนอน หรือยังง่วงนอนอยู่ ถึงแม้ว่าได้นอนมาแล้วหลายชั่วโมง แสดงว่านอนไม่พอ หรือการหลับนั้นขาดคุณภาพ
“สาเหตุ” ที่ทำให้คนเรานอนไม่หลับ แม้ว่าบางคนนอนวันละ 10 ชั่วโมง อาจจะเป็นเพราะว่าพยายามกดดันตัวเองให้หลับมากเกินไป จนกลายเป็นความกังวลแทนที่ความผ่อนคลาย สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้นอนไม่หลับยังมีอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความเครียด โรคซึมเศร้า วิตกกังวล รวมไปถึงการกินยา หรืออาหาร เครื่องดื่มบาง รวมไปถึงแวดล้อมในห้องนอน อากาศอาจจะร้อนหรือหนาวมากเกินไป ซึ่งสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ช่วงเวลาหลับลึกของคนเราไม่เพียงพออย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้นระยะเวลาในการนอนจึงไม่สำคัญ แต่ความสำคัญนั้นอยู่ที่คุณภาพในการนอน
          เรามาดูกันดีกว่าว่าวิธีการนอนอย่างไรที่จะทำให้ตื่นขึ้นมาแล้วสดชื่น และเป็นสุขลักษณะการนอนที่ดี
1.       เลี่ยงการนอนกลางวัน
2.       อย่ารับประทานอาหารก่อนเข้านอน อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
3.       พยายามทำให้ห้องนอนเงียบ และมืดมากที่สุด
4.       ผ่อนคลายก่อนนอน เช่นฟังเพลงเบาๆ อ่านหนังสือธรรมมะ หรือแม้แต่การทาโลชั่นกลิ่นหอมอ่อนๆ เพื่อผ่อนคลาย
5.       นอนเวลาเดิม ทำให้เป็นกิจวัตรทุกวัน
6.       อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ หรือคาเฟอีนก่อนนอน
ลองทบทวนสาเหตุที่ทำให้คุณนอนไม่หลับ และลองปฏิบัติตามวิธีข้างต้น เพียงเท่านี้ “หลับ.. ก็คือการพักผ่อน”
เริ่มต้นชีวิตในแต่ละวันได้อย่างสดชื่น แจ่มใส ช่วยให้เรามีสมาธิ สามารถจัดการกับภารกิจต่างๆ ตลอดทั้งวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยผลจากการนอนหลับอย่างเพียงพอ ยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เนื่องจากได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่อีกด้วย..

เขียนโดย; มนัสภร ประเสริฐ (ปอ)

อ้างอิงและเรียบเรียงข้อมูลจาก; www.google.co.th

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

การทำงานอย่างมีความสุข

1. อย่าคิดเล็กคิดน้อยกับเรื่องเล็กน้อย
พยายามอย่าเอาคำพูดหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาเป็นอารมณ์ ให้คิดเสียว่ามันผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เราควรฝึกคิดแต่สิ่งที่จะทำให้ตนเองประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับในหน้าที่การงานจากสังคม ดังนั้นจึงควรใช้เวลาในแต่ละวันกับการคิดถึงเป้าหมายและจะทำอย่างไรเพื่อให้เดินทางไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ความคิดเหล่านี้จะส่งผลให้มีความกระตือรือร้นในการทำงาน สนุกกับสิ่งที่ทำอยู่ตลอดเวลา
2. อย่าต่อว่าองค์กร
มีหลายคนที่มีความรู้สึกไม่รักในองค์กรที่กำลังทำงานอยู่ ไม่มีความรู้สึกผูกพันกับองค์กร มีความรู้สึกว่า "ทนอยู่" เพื่อรอรับเงินเดือนตอนสิ้นเดือนเท่านั้น มักจะต่อว่าหรือพูดถึงองค์กรในทางที่ไม่ดี แต่อย่าลืมว่าตัวเราเองเลือกที่จะทำงานอยู่ในองค์กรแห่งนี้ แล้วทำไมจึงไม่เลือกที่จะรักในองค์กรที่เรากำลังใช้ชีวิตร่วมด้วย

3. อย่าให้ร้ายหัวหน้างาน
ซึ่งในชีวิตของการทำงานคงจะเลือกทำงานกับหัวหน้างานในแบบฉบับที่ชอบไม่ได้ แต่ทางที่ดีที่สุดก็คือควรเข้าใจในเหตุผลของความคิดและการกระทำของหัวหน้างานควรเคารพและให้เกียรติหัวหน้า คอยสนับสนุนและช่วยเหลือหัวหน้าเท่าที่จะทำได้
4. อย่าดูถูกเพื่อนร่วมงาน หรือคนรอบข้าง
อย่าดูถูกความคิดหรือความสามารถของคนอื่น ทุกคนมีความทักษะและความชำนาญในงานที่แตกต่างกัน เช่นคุณทำงานของคุณได้ แต่คุณอาจไม่สามารถทำงานของคนอื่นได้ ดังนั้นคุณควรให้เกียรติเพื่อนร่วมงานหรือคนรอบข้างคุณที่คุณต้องประสานงานหรือติดต่อด้วย พยายามอย่าเอาการศึกษามาวัดที่ค่าของคนหรือความสามารถของคน
5. เลือกทำงานที่รัก
แต่หากตัวเราเองไม่สามารถเลือกทำงานที่ตนเองรักได้ ก็ขอให้เลือกที่จะรักงานที่กำลังทำอยู่ ให้มีความสุขและรู้สึกสนุกกับงานที่กำลังทำ โดยหาเหตุผลจาก ประโยชน์ที่ได้จากงานคืออะไร, ช่วยพัฒนาศักยภาพด้านใดบ้างและสามารถตอบสนองเป้าหมายในอนาคตได้อย่างไร จากการหาเหตุผลในเบื้องต้นนี้ จะสามารถทำให้เรากระตือรือร้นในการทำงานเพื่อพัฒนาศักยภาพและรักงานที่ทำมากขึ้น
6. ทํางานทุกชิ้นให้เต็มที่ให้ดี
เพราะเป็นแสดงออกถึงศักยภาพในการทํางานของเราทุกครั้งที่เราทํางานให้เต็มที่และทําอย่างดีที่สุด คนก็จะเห็นคุณค่าของเราว่ามี มากน้อยเพียงไร
7. ทํางานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
เพราะความสุจริตไม่ต้องมานั่งระแวดระวังภัยที่จะตามมาในอนาคต ซึ่งเกิดจากการตามจับผิดจากหน่วยงาน ถ้าวันนี้ทำให้ถูกต้องก็ไม่ต้องนั่งกังวลว่าในอนาคตจะมีเรื่องผิดพลาด
8. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน
เพราะเราจะต้องอาศัยผู้ร่วมงานจากทุกฝ่ายอยู่เสมอ ดังนั้นอย่ามัวแต่ทํางานแต่จงทําคนด้วย เพื่อก่อให้เกิดสภาวะงานก็สําเร็จ ชีวิตก็รื่นรมย์ คนก็สําราญ งานก็สําเร็จ
   
ดังนั้นหากคุณมีความคิดที่ดีและการกระทำแต่สิ่งที่ดีต่อองค์กร หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน/คนรอบข้าง และตัวงานของคุณเอง…เพียงเท่านี้…คุณเองย่อมจะมีความสุขและสนุกกับชีวิตในการทำงานของคุณ


เขียนโดย; จันดี ทองพันชั่ง (ต้อม)
อ้างอิงและเรียบเรียงข้อมูลจาก; http://www.google.co.th