วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

แคมเปญ Ice Bucket challenge กับแบรนด์สินค้า?

ตอนนี้ กระแส Ice Bucket challenge หรือนำน้ำแข็งผสมน้ำเย็นเทราดตัว กำลังเป็นที่นิยมกันในบ้านเรา  โดยเราทราบเพียงว่า แคมเปญนี้เป็นแคมเปญในต่างประเทศ เป็นการท้าทายกันให้ทำตามเพื่อบริจาคเงินเข้าการกุศล ซึ่งตอนนี้ทำยอดบริจาคเกิน 15 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว เรามาทำความรู้จักคนที่ริ่เริ่มทำแคมเปญนี้กัน

หลายคนอาจรู้จักแคมเปญนี้ จากการที่ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ค  เอาน้ำแข็งและน้ำเย็นราดตัวเอง  และท้าให้บิลเกต ทำอย่างเขาดูบ้าง  

แต่แท้จริงแล้ว แคมเปญนี้ เริ่มขึ้นโดยมูลนิธิ ALS ในสหรัฐ (Amyotrophic Lateral Sclerosis) หรือ  มูลนิธิเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อล้มเหลว โดยอาการของโรค คือ กล้ามเนื้อในร่างกายจะค่อยๆ อ่อนแรงลง จนเป็นอัมพาต และเสียชีวิต มูลนิธิจึงคิดเคมเปญนี้ขึ้นมา  เพื่อให้คนทั่วไปตระหนักถึงโรคนี้ โดยท้าให้เอาน้ำแข็งราดตัวเอง แล้วส่งคำท้าไปเรื่อยๆ

วิธีการ คือ คนที่โดน Challenge หรือโดนท้า จะต้องเลือกระหว่างการเอาน้ำราดตัวเองหรือคนรอบข้าง  แล้วจ่ายเงินเข้ามูลนิธิ ALS  10 เหรียญ แต่ถ้าไม่ราดน้ำตัวเอง ต้องบริจาคเงิน 100 เหรียญ ให้มูลนิธิ ALS  ผ่านเวบไซต์  www.alsa.org 

แคมเปญนี้ เป็นที่รู้จักในช่วงกลางเดือนกรกฏาคม เมื่อ Chris  Kennedy  นักกอล์ฟจากซาราโซต้า   เขาเอาน้ำเย็นมาราดตัว และระบุแบบเฉพาะเจาะจงว่า หากใครรับคำท้า จะต้องบริจาคเงินเข้า มูลนิธิ ALS  ซึ่งเขาท้าหลานของเขาเอง และหลานเขาก็รับคำท้า  

จากนั้นก็มีการท้าต่อๆ กันมา  เป็นกระแสในทั่วโลกไม่ถึง 1สัปดาห์  มีเซเลบริตี้เข้ามาร่วมกิจกรรมกันมากมาย ที่เราทราบกัน คือ มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ค ท้าบิลเกต ให้ทำบ้าง  และไม่นาน บิล เกต รับคำท้า 

รวมไปถึง ทิม คุก ซีอีโอ แอปเปิ้ล และ สัตยา นาเดลลา ซีอีโอ ไมโครซอฟท์  

นาย เจฟฟ์ เบซอส (Jeff Bezos) ซีอีโอของอเมซอน ก็ร่วมทำด้วย 

แวดวงนักร้อง เซเลบชื่อดังในต่างประเทศก็ทำ อย่าง จัสติน ทิมเบอร์เลค พร้อมกับเพื่อนๆ ของเขา ก็ร่วมแคมเปญนี้ด้วย รวมถึง เจนิเฟอร์ โลเปซ  ก็ร่วมกับแคมเปญนี้ด้วย รวมทั้งโอปรา วินฟรี ก็ร่วมด้วย

หรือแม้แต่ ซีอีโอ ของดิสนีย์ ก็ร่วมด้วย 



จากนั้นก็เริ่มมาที่ไทยเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อคนที่ริ่เริ่มแคมเปญนี้ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา คือ คุณพาที สารสิน  ซีอีโอ นกแอร์ ซึ่งน่าจะเป็นคนแรกที่นำเอาแคมเปญนี้เข้ามาในไทย โดยคุณพาที พร้อมภรรยา นำน้ำราดตัวและกระโดดลงสระว่ายน้ำ พร้อมท้าเซเลบริตี้ ต่อ จากนั้นจึงเกิดการท้าต่อๆ กันมาให้ทำในลักษณะเดียวกัน หนึ่งในผู้ที่ถูกท้า คือ คุณวู้ดดี้ มิลินทจินดา  

จากนั้น เราจึงได้เห็นเหล่าเซเลบในไทย ในกลุ่มของพิธีกร และ ซีอีโอต่างๆ แต่ส่วนใหญ่เป็นเซเลบในแวดวงไอที และโทรคมนาคม ทั้ง คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอ ทรู คอร์ปอเรชั่น รวมทั้งผู้บริหารของเอไอเอสและดีแทคด้วย

เมื่อคืนที่ผ่านมา เจมส์ จิรายุ ตั้งศรีสุข พรีเซ็นเตอร์เอไอเอส 3G 2100 ได้รับคำท้าคุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ซีอีโอ AIS แล้ว

จากนั้นก็มาถึง เหล่าเซเลบไอที อย่าง คุณหนุ่ย พงศ์สุข ท้าต่อไปยังคุณ จอห์น รัตนเวโรจน์ ,จิตต์สุภา ฉิน หรือ ซู่ชิง และ "คุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา" และคุณซู่ชิง  ผู้ดำเนินรายการทางโทรทัศน์ทางวอยซ์ทีวี  ก็รับคำท้าด้วยคลิปนี้ 

คุณซู่ชิง ร่วมบริจาคเงินให้มูลนิธิกระจกเงาด้วย และขอท้าต่อ 3 คนคือ  คุณกิตติ สิงหาปัด, คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และคุณซี ฉัตรปวีณ์

และในที่สุด คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ก็รับคำท้าคุณซู่ชิง ใส่เสื้อตัวเก่ง เทน้ำใส่ตัวที่สวนลุม และท้าต่อไปถึง คุณปลื้ม หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล , คุณปัญญา นิรันดร์กุล 

หากสังเกตุดีๆ จะพบว่า ในช่วงหลังๆ ของการเข้าร่วมแคมเปญนี้ เหล่าเซเลบในต่างประเทศจะใส่เสื้อที่มีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์ หรือ ธุรกิจที่พวกเขาชื่นชอบ  บางรายมีโฆษณาแฝงด้วย  

อย่างจัสติน ทิมเบอร์เลค ใส่เสื้อยืดของวง "Pink Floyd " วงดนตรีที่เขาชื่นชอบเป็นพิเศษ หรือ ผู้บริหารคนอื่นๆ ของไมโครซอฟท์  ที่เข้าร่วมแคมเปญนี้  ใส่เสื้อยืด ที่สกรีนว่า Ability งานสัมมนาที่ไมโครซอฟท์  เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับคนพิการ ที่ช่วงหลังๆ บริษัทไอทีต่างๆ รวมถึงไมโครซอฟท์ หันมาจดลิขสิทธิ์พัฒนาอุปกรณ์ช่วยคนพิการมากขึ้น ส่วน สัตยา ซีอีโอของไมโครซอฟท์  เป็นคนเดียวที่ใส่เสื้อโปโลของพูม่า 

ส่วนในไทยก็มีโฆษณาแฝงด้วยเช่นกัน อย่าง เจมส์ จิรายุ  ที่ใส่เสื้อยืดสีดำ สกรีนลาย Monkey King ซึ่งเป็นกลุ่มแฟนคลับของเจมส์ ที่ตั้งชื่อให้ตามคาแรกเตอร์ของเจมส์ จิ และเสื้อตัวนี้ ทำขึ้นเพื่อจัดจำหน่ายด้วย

หรือ ผู้บริหารของโอเปอเรเตอร์ค่ายมือถือก็ไม่ยอมน้อยหน้ากัน ทุกค่ายต่างใส่เสื้อและใช้ถังน้ำที่ราดตัว   เป็นสีธีมของค่ายตัวเองกันอย่างพร้อมเพรียง

จากโครงการดีๆที่เริ่มขึ้นในต่างประเทศ  จนกระจายมายังทั่วโลก  แพร่หลายแล้วในไทย  และยังสามารถไทร์อินกลยุทธ์การโฆษณาได้แบบเนียนๆ แถมยังได้บริจาคช่วยการกุศลได้อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันยอดบริจาคของมูลนิธิ ALS ในสหรัฐ อยู่ที่ 15 ล้าน 6 แสนเหรียญแล้ว  ในต่างประเทศพิสูจน์ว่าทำได้จริงและมันเห็นผล  ในไทยก็เช่นเดียวกัน  


ที่มา : http://shows.voicetv.co.th/voice-market/114706.html
ภาพถ่าย : http://www.thairath.co.th/

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

10 ข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อโปรแกรมบัญชี


1. งบประมาณ ก่อนที่จะเริ่มต้นเลือกโปรแกรมบัญชี ต้องทำการจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายสำหรับโปรแกรม 
    และค่าใช้จ่ายในเรื่องของฮาร์ดแวร์
2. ก่อนที่จะซื้อโปรแกรมต้องสำรวจความต้องการธุรกิจ ด้วยการเรียงลำดับความสำคัญของงานที่ต้องการ
   โปรแกรมที่เลือก   ต้องรองรับความต้องการที่เรียงลำดับไว้ 70-80 % โดยเปิดโอกาสให้ทีมงานที่เกี่ยวข้อง
   ได้มีส่วนร่วมในการสรรหา มิใช่มุ่งเน้นไปที่ฝ่ายบัญชีฝ่ายเดียว
3. เลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ  มีประสบการณ์ มีลูกค้าอ้างอิงที่สามารถโทรไปสอบถามถึงการใช้งานของ
   บริษัทเหล่านั้นได้ ซึ่งทำให้เราได้ข้อมูลจริงจากผู้ใช้
4. ใช้งานง่าย โปรแกรมที่ดีต้องใช้งานง่าย มีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนความต้องการขั้นพื้นฐานโดยไม่    
    ต้องพึ่งโปรแกรมเมอร์ ก่อนตัดสินใจซื้อโปรแกรมควรได้ทดลองใช้งานโปรแกรมก่อนเพื่อการประกอบการ
    ตัดสินใจว่ามีความเหมาะสมต่อองค์กรและง่ายต่อการใช้งานมากน้อยแค่ไหน
5. ความเสถียรของโปรแกรม ความเสถียรของโปรแกรมเป็นสิ่งสำคัญมากยิ่งนานวันปริมาณข้อมูลมากขึ้น 
    ส่งผลโดยตรงกับโปรแกรม มีขีดความสามารถที่จะรองรับได้หรือไม่ รวมถึงความเร็วในการประมวลผล
6. เป็นโปรแกรมตามมาตรฐานกรมสรรพากร
7. สามารถแก้ไขปัญหาและอัพเดทโปรแกรมได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดปัญหาการใช้งาน
8. รองรับธุรกิจในอนาคตหรือการขยายกิจการ ในอนาคตบริษัทอาจมีการขยายสาขาหรือมีปริมาณข้อมูลที่เพิ่ม
    มากขึ้นโปรแกรมที่จะซื้อสามารถรองรับการขยายได้มากน้อยแค่ไหน 
9. ตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม โปรแกรมต้องสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข
    Feature ต่างๆ ในอนาคต ซึ่งก็จะสามารถนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์กับองค์กรมาพัฒนาเพิ่มเติม
    เพื่อประสิทธิภาพของโปรแกรมและประสิทธิภาพขององค์กรได้มากขึ้น
10. มีบริการหลังการขาย ช่วยเหลือผู้ใช้งานในกรณีที่เกิดปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม