วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

เตรียมความพร้อมทางการศึกษาก่อนเข้าสู่สังคม AEC

เตรียมความพร้อมอย่างไร? เพื่อก้าวทันการเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 รากฐานของตึก คือ อิฐรากฐานของชีวิตคือการศึกษา จึงเป็นกระบวนการหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มั่นคง และยั่งยืนอย่างเท่าเทียมกัน ในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน บทความนี้น่าจะเป็นแนวทางว่าเราควรเตรียมตัวอย่างไร
สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงมุ่งเน้นเตรียมความพร้อมประเด็นสำคัญดังนี้

1. เรียนรู้และพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับต่างชาติที่จะมีมากขึ้นในอนาคต
2. พัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญในงานสาขาเฉพาะด้านอย่างมีมาตรฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานที่สูงขึ้น
3. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งกฎ ระเบียบ และข้อบังคับของอาเซียน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
การพัฒนามาตรฐานการศึกษาไทยให้ก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนนั้นคงไม่เพียงพอ แต่ยังต้องพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้มีศักยภาพพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมโลกได้อย่างมั่นใจ ที่สำคัญคือทุกภาคส่วนในสังคมต้องผสานความร่วมมือขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้ก้าวไปสู่เวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน หากเด็กไทยถูกปลงฝังให้มีทัศนคติทางบวก และมีความละเอียดอ่อนแม่นยำในการรับรู้วิถีจารีตในวัฒนธรรมที่แตกต่างแล้ว โดยกาสที่จะเติบโตเป็นพลเมืองอาเซียน และก้าวสู่ความสำเร็จในวันหน้าย่อยมีได้มาก

เขียนโดย; มนัสภร ประเสริฐ (ปอ)

อ้างอิงและเรียบเรียงข้อมูลจาก; http://www.thai-aec.com/
ภาพประกอบจาก ; http://www.tlcthai.com/

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

ใช้มือถือหรือบัตรเครดิตที่มี NFC ระวังโดน copy ข้อมูลขโมยเงินโดยไม่รู้ตัว


วันนี้มีเรื่องเตือนภัยสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ และบัตรเครดิตแบบ Visa Paywave  ซึ่งที่มีเทคโนโลยี NFC ติดอยู่ไว้ใช้สำหรับในการชำระค่าสินค้าต่างๆ เพียง NFC แตะ แต่ระวังจะตกเป็นเหยื่อของแก็งค์ขโมยข้อมูล ซึ่งจะใช้วิธี copy ข้อมูล NFC ที่แทบจะไม่ต่าง copy บัตรเครดิตหรือบัตร ATM ออกมาใช้จ่ายเงินได้แบบสบาย   โดยเจ้าของตัวจริงไม่รู้ตัวว่ามีโจรแอบเอาข้อมูลเราไปใช้จ่ายฟรีแบบสบายๆแล้ว
ข้อมูลเตือนภัยนี้ได้รวบรวมข้อมูลมาจาก โครงการอบรมการป้องกันความปลอดภัยข้อมูลคอมพิวเตอร์ ครั้งที่ 13 ( CDIC 2014 ) ที BITEC บางนา เมื่อ 30-31 กรกฎาคม 2014 ที่ผ่านมา โดยนอกจากเป็นงานสัมมนาความปลอดภัยบนโลกไอทีแล้ว ยังได้มีการ Live Show การแฮคต่างๆภายในงานนี้ด้วย ซึ่งเรื่องที่น่าตกใจคือ  การโมยข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือ และบัครเครดิต NFC มันเป็นเรื่องง่ายและเป็นภัยอันตรายที่ใกล้ตัวเรามาก  NFC นี้ พัฒนาต่อยอดจาก RFID  ซึ่ง RFID เอาไว้บอกข้อมูลว่า อุปกรณ์นั้นที่ติดไว้มันเป็น ID อะไร เอาไปใช้กับพวกขายของ เช่นร้านอาหาร ขึ้นรถไฟใต้ดิน รถไฟฟ้า  บางครั้ง RFID ใช้กับสัตว์โดยติดบริเวณปลอกคอ ไว้ทราบว่า สัตว์ชนิดนี้ สุขภาพดีแค่ไหน? ได้รับอาหารอะไรบ้าง ?

ต่อมา RFID ได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆจากปกติแค่ส่งข้อมูลได้อย่างเดียว มาเป็น NFC ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้   อุปกรณ์ ที่ใช้ NFC นี้พบได้ตามมือถือสมาร์ทโฟน ระบบปฏิบัติการ Android และ Windows Phone ซึ่งจะระบุสเปคว่ารองรับ NFC อยู่ ซึ่งจะพบผู้ใช้มือถือใช้ NFC ใช้ตาม BTS , หรือร้านอาหารอย่าง McDonald หรือห้างสรรพสินค้าค้าปลีก Big C , Tesco Lotus  ก็จะมีจุดรับชำระเงินผ่านทาง NFC แล้วและยังมีบัตรเครดิตที่ใช้เทคโนโลยี NFC ด้วย คือ Visa Paywave , Master Card PayPass ที่ช่วยให้การชำระเงินง่านขึ้นเพียงแค่แตะกับเครื่องอ่าน NFC ชำระเงินเท่านั้น ไม่ต้องมอบบัตรให้พนักงาน และไม่ต้องเซ็นต์  ง่ายๆจริงๆ แต่ก็มีผลร้ายคือมันง่ายสำหรับการโจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิตด้วยเพราะบัตรที่มี NFC อย่าง Visa Paywave , Master Card PayPass สามารถขโมยข้อมูลบัตร NFC ได้เพียงแค่นำบัตรมาแตะเครื่องแตะบัตรของ Hacker ก็ขโมยข้อมูลบัตรได้แล้ว โดยข้อมูลที่ถูกขโมยไปผ่านทาง NFC คือ หมายเลขบัตรเครดิต วันที่หมดอายุ ชื่อผู้ใช้บัตรเครดิต เป็นต้น แต่ไม่มีข้อมูล CVV  (เลข 3 ตัว )อยู่  ยิ่งตัว nfc reader นี้ หน้าตาเหมือน flashdrive มากดังภาพด้านบน ราคาแค่พันกว่าบาท มีขายใน ebay
คนร้ายจะใช้วิธีแยบยลในการขโมยข้อมูล NFC คือ   มีคนร้าย 2 คน ถือโทรศัพท์มือถือ NFC คนละเครื่อง   โดยคนร้ายคนนึงคอยแตะที่การ์ดบัตรเครดิต NFC สมาร์ทโฟน NFC ของเหยื่อ โดยใช้แอพบน Android ตัวนึงที่ติดตั้งแล้วสามารถนำมาแตะบัตรเครดิตเหยื่อ เพื่ออ่าน…. แล้วคัดลอกข้อมูลบัตรเกี่ยวกับการเงินที่จ่ายผ่าน NFC  >> แล้วส่งข้อมูลให้กับสมาร์ทโฟนของคนร้ายอีกคนที่ถือมือถือ NFC อีกเครื่อง เพื่อเอาไปใช้จ่ายเงิน โดยสิ่งที่คนร้ายนำมือถือ แตะเงินจ่ายซื้อสินค้านี้ เป็นข้อมูลจากบัตร NFC ของเหยื่อ….  เหยื่อก็กลายเป็นผู้ต้องเสียเงินแทนในขณะที่คนร้ายซื้อของได้สบายๆฟรีๆ

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

อยากเขียนโปรแกรมใช้เองจะดีหรือไม่?


จากความจำเป็นทางธุรกิจที่จะต้องมีการพัฒนา และปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารงานอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดการค้าที่ไร้ซึ่งพรมแดน ผู้ชนะและผู้ตัดสินใจที่ถูกต้องเท่านั้น จึงจะอยู่รอดได้ บางครั้งอาจตัดสินใจทำการผลิตซอฟท์แวร์กันเองภายในองค์กร คราวนี้เรามาเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการผลิตซอฟท์แวร์ใช้เองกันดีกว่า
ข้อดีของการพัฒนาซอฟท์แวร์เอง
1.    ได้ระบบตรงตามความต้องการ 100% เพราะผู้พัฒนาย่อมต้องทำโปรแกรมตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยไม่มีเงื่อนไข
2.    สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ในการพัฒนาได้มากกว่า เช่น การเร่งเวลา การเพิ่มบุคลากร การแก้ไขรายละเอียด (Specification) ของซอฟท์แวร์ และการรักษาความลับทางธุรกิจ เป็นต้น

ข้อเสียของการพัฒนาซอฟท์แวร์เอง
1.       ต้นทุนในการพัฒนาจะสูง และควบคุมงบประมาณได้ยากเพราะองค์กรต้องจ่ายเงินเดือนประจำให้กับ    โปรแกรมเมอร์ และต้องซื้อเครื่องไม้เครื่องมือ เพื่อการพัฒนาด้วยตนเองแต่เพียงผู้เดียว ไม่อาจเฉลี่ยค่าใช้จ่ายให้กับผู้อื่นได้ และมีความเสี่ยงหากทำเองแล้วไม่สำเร็จ
2.       ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาซอฟท์แวร์ จะค่อนข้างสูง เนื่องจากมีการแปรผันตามการลงทุนในการพัฒนาซอฟท์แวร์ เพราะจะต้องว่าจ้างโปรแกรมเมอร์ที่เขียนงานไว้เพื่อดูแลระบบต่อไป
3.       องค์กรอาจถูกพนักงานที่เป็นโปรแกรมเมอร์ กลั่นแกล้งหรือต่อรองกับองค์กร เพื่อประโยชน์ส่วนตน ซึ่งองค์กรมักตกเป็นเบี้ยล่าง เพราะซอฟท์แวร์ที่โปรแกรมเมอร์เขียนไว้ไม่สามารถหาบุคคลอื่นมาดูแล หรือสานงานต่อได้ เมื่อโปรแกรมเมอร์ลาออกก็ต้องทิ้งซอฟท์แวร์ตามไปด้วย หรือทนใช้ไปท่ามกลางความเสี่ยง เหมือนยืนอยู่บนเส้นด้าย
4.       องค์กรไม่อาจทุ่มเททรัพยากรทั้งหมด เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะในด้านอุตสาหกรรมที่ดำเนินการอยู่ได้อย่างแท้จริง เพราะต้องคอยมาบริหารการพัฒนาซอฟท์แวร์ควบคู่ไปด้วย ทั้งๆที่ไม่ใช่ความเชี่ยวชาญหลักขององค์กร
5.       องค์กรมักตามไม่ทันกับเทคโนโลยีด้าน IT ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพราะบุคลากรภายในไม่ได้ถูกผลักดันจากภาวะการแข่งขันในการพัฒนาซอฟท์แวร์กับองค์กรอื่น
6.       บุคลากรหรือโปรแกรมเมอร์ภายในองค์กรมักมีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญน้อยกว่าโปรแกรมเมอร์ จากบริษัท Software House หรือจากบริษัทผลิตซอฟท์แวร์สำเร็จรูป เพราะบริษัทเหล่านั้นมีการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ระหว่าง Senior Programmers และ Junior Programmers ได้อย่างทั่วถึง และมีการพัฒนาซอฟท์แวร์อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ และเป็นมืออาชีพมากกว่า

หากจะนับข้อดีของการพัฒนาซอฟท์แวร์ใช้เอง อาจจะได้แค่ซอฟท์แวร์ที่ตรงกับระบบงานขององค์กรเท่านั้น แต่จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าคุณจะเลือกซอฟท์แวร์จากผู้ผลิตที่มีความชำนาญโดยตรง เครื่องมือที่ทันสมัย คำแนะนำเทคโนโลยีที่ก้าวไกล และยังสามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการขององค์กรได้