วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ทำงานร่วมกับผู้อื่นแบบ Psycho...


ในการทำงานเราไม่สามารถทำงานเพียงลำพังคนเดียวได้ ต้องมีการประสานงานกับบุคคลอื่นๆ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงาน ในการพัฒนาทักษะ หรือความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้น ก็มีแนวทางปฏิบัติง่ายๆ ตามหลักของ P-S-Y-C-H-O ดังนี้


P = Positive Thinking….คิดแต่ทางบวก สร้างโลกสวยงาม
ทัศนคติ มุมมอง หรือความคิด เป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าคุณมีทัศนคติ มุมมองความคิดที่ดีแล้วนั้นก็ย่อมส่งผลทำให้คุณมีพฤติกรรมที่ดีตามด้วยเช่น กัน แต่หากคุณมีทัศนคติในเชิงลบ คุณก็จะมีพฤติกรรมที่ไม่อยากให้ความร่วมมือใดๆ นินทาว่าร้าย ก้าวร้าว หรือพฤติกรรมอื่นๆ ซึ่งต่างๆเหล่านี้ก็จะส่งผลทำให้คุณไม่มีความสุขกับการทำงาน ดังนั้นเพื่อให้เราสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข คุณก็ต้องปรับทัศนคติมุมมองความคิดของตัวคุณเองให้กว้าง มองโลกในทางบวกไว้เสมอ
S = Smile…ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างความประทับใจ
การมอบ รอยยิ้ม เป็นการสร้างความคุ้นเคย และความประทับให้กับผู้อื่น และยังเป็นเสน่ห์ให้กับผู้อื่นอยากจะคบหาสมาคมด้วย ถ้าหากคุณเอาแต่หน้าบึ้งตึง ทำสีหน้าท้อแท้เบื่อหน่าย ก็ไม่มีใครที่อยากจะคบหาสมาคม หรืออยากร่วมทำงานด้วยกับคุณ การทำงานด้วยรอยยิ้มจะส่งผลให้คุณทำงานอย่างมีความสุข และทำให้คุณพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาต่างๆ วางแผนการทำงาน หรือตัดสินปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้
Y = Yours…จริงใจให้กัน ช่วยเหลือการงาน
คุณ ควรมีความจริงใจที่จะให้ความช่วยเหลือ และช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงานแก่เพื่อนร่วมงานของคุณ ความจริงใจจะส่งผลให้คุณเป็นผู้รับฟัง และเป็นผู้ให้ที่ดี ซึ่งคุณไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้บุคคลอื่นมาร้องขอให้คุณช่วยแต่คุณสามารถที่ จะอาสาช่วยเหลือในการทำงานหรือจัดการปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ และความจริงใจที่คุณแสดงออกมานั้นย่อมสร้างความประทับใจ และทัศนคติที่ดีจากบุคคลรอบข้างตัวคุณเองได้ด้วยเช่นกัน
C = Compromise ….. สมานสามัคคี ด้วยการประนีประนอม
ความ สามัคคีเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีส่วนทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เพราะงานที่มีประสิทธิภาพได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือกัน ความสามัคคี ความรักใคร่ปรองดองกัน ให้อภัยซึ่งกันและกัน มีความประนีประนอมต่อกัน ซึ่งถ้าทุกคนมีเช่นนี้ก็จะทำให้สามารถลดความตึงเครียด หรือความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกันได้
H = Human Relations ……สัมพันธ์ที่ดี สร้างมิตรผูกพัน 
การ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ควรเริ่มต้นจากการทักทาย การแสดงความเป็นมิตรกับบุคคลอื่นๆ ทั้งที่รู้จัก หรืออาจไม่รู้จักมาก่อน อีกทั้งการแสดงความรู้สึกเป็นห่วงเป็นใย การแสดงไมตรีจิตกับผู้อื่น รวมไปถึงกิริยาท่าทางที่แสดงออก คำพูด วาจาเพื่อสร้างความคุ้นเคย และรักษาสัมพันธ์อันดีงามไว้ พฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้จะทำให้คุณมีเพื่อน หรือกลุ่มเพื่อนที่กว้างขวาง ซึ่งก็เป็นผลดีในการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น และทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพอีกด้วย อีกทั้งเพื่อน หรือกลุ่มเพื่อนก็พร้อมที่จะคอยให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ
O = Oral Communication….สื่อสารชัดเจน แก้ไขข้อขัดแย้ง 
การ สื่อสารไม่ว่าจะด้วยการสื่อสารประเภทใด ถือเป็นพฤติกรรมหนึ่งที่จำเป็นและสำคัญสำหรับการทำงานร่วมกับผู้อื่น อีกทั้งข้อมูลที่สื่อสารออกไปนั้นก็ต้องเป็นข้อมูลที่ไม่สร้างความขัดแย้ง หรือความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น หรือหน่วยงานอื่น และต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง สื่อสารด้วยความชัดเจน เพราะข้อมูลและสิ่งที่เราจะสื่อสารออกไปนั้น อาจเป็นประโยชน์อย่างมากกับการทำงานของหน่วยงานอื่น อีกทั้ง หากการสื่อสารมีประสิทธิภาพก็สามารถลดปัญหา หรือข้อขัดแย้งในการทำงานลงได้

การ ทำงานร่วมกับผู้อื่นให้ประสบผลสำเร็จได้นั้น คุณควรเริ่มต้นจากการมองตัวคุณเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวคุณเองให้ เป็นคนที่มองโลกในแง่ดี การยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ มี ความจริงใจในการให้ความช่วยเหลือ การประนีประนอม การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น รวมทั้งการให้ข้อมูลที่ชัดเจน …ซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมจะทำให้คุณมีเสน่ห์ และสร้างความประทับที่ดีกับบุคคลอื่นที่คุณต้องทำงานร่วมด้วย…….

วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Key Logger ภัยร้ายบนแป้นพิมพ์

Key Logger คืออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์ที่รุนแรงมากอย่างหนึ่ง เพราะผู้ไม่หวังดีจะบันทึกการกดแป้นพิมพ์บนคอมพิวเตอร์ของคุณ ขโมยข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บนเครื่อง ตั้งแต่รหัสผ่านอีเมล รหัสถอนเงินผ่าน e-banking รหัสซื้อขายหุ้น และความลับทุกอย่างที่คุณพิมพ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งแฮกเกอร์พวกนี้จะนำข้อมูลของคุณไปเพื่อข่มขู่ แบล็กเมล นำรหัสบัตรเครดิตไปซื้อสินค้า รวมทั้งนำข้อมูลไปใช้ในทางมิชอบอื่นๆ

          ไม่เพียงแต่องค์กรใหญ่เท่านั้นที่จะเป็นเป้าหมายของการโจมตีด้วย Key Logger แม้แต่ตัวคุณเองก็มีสิทธิ์ถูกล้วงข้อมูลได้จากคนใกล้ตัว เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คุณยืมมา หรือเจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตที่คุณไปใช้บริการ เนื่องจาก Key Logger เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ติดตั้งได้ทั้งด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์ ฝังไว้ในแป้นพิมพ์ หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ที่ฝังอยู่ในวินโดวส์ และแพร่กระจายได้พร้อมกับไวรัส ผ่านทางธัมป์ไดรฟ์ ผ่านทางการแชท หรือผ่านทางอีเมลก็ได้
ป้องกัน Key Logger ด้วยตัวคุณเอง

ทุก องค์กรควรป้องกัน Key Logger โดยการให้ความรู้และการอบรมพนักงานผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดความระแวดระวังและหมั่นตรวจสอบเครื่องของตน คอยเฝ้าดูด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์ คอยเฝ้าดูความผิดปกติหรือสิ่งแปลกปลอมบนแป้นพิมพ์
เปลี่ยน มาใช้ Notebook PC แทน Desktop PC เพราะแป้นพิมพ์ของโน้ตบุ๊กติดตั้งอุปกรณ์ Key Logger ได้ยากกว่า อีกทั้งยังสามารถพกพาติดตัวไปได้ตลอดเวลา จึงลดโอกาสที่ผู้ไม่หวังดีจะแอบมาติดตั้ง Key Logger บนเครื่องของคุณได้
ควร เพิ่มมาตรการตรวจสอบรหัสผ่านเพิ่มขึ้นชั้นหนึ่ง แม้โดยปกติเรามีการตรวจสอบด้วย Username และ Password อยู่แล้ว แต่เพื่อความไม่ประมาทควรมีการตรวจสอบรหัสผ่านโดยใช้ Secure Token, Smart card หรืออุปกรณ์อื่นอีกชั้นหนึ่ง และความมีการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ เพื่อป้องกันคนร้ายที่ได้รหัสก่อนหน้านี้กลับเข้ามาขโมยข้อมูลได้อีก
ติด ตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส สำหรับ Key Logger แบบซอฟต์แวร์ และป้องกัน Key Logger แบบฮาร์ดแวร์ด้วยการควบคุมการเข้าออกของพนักงาน เพื่อไม่ให้สามารถลักลอบติดตั้งอุปกรณ์ที่ตัวเครื่องได้
ควร เพิ่มเมนูแบบ Drop Down เพื่อทดแทนเมนูแบบที่ต้องพิมพ์ หรือใส่ข้อมูลด้วยการคลิกตัวอักษรบนหน้าจอแทนการพิมพ์ ซึ่ง Key Logger จะไม่สามารถดักจับข้อมูลได้
หรือ หากจะป้องกันในระดับ advance ก็สามารถหาซอฟต์แวร์ที่ช่วยตรวจจับ Key Logger มาใช้ ซึ่งสามารถช่วยปิดการติดต่อระหว่าง Key Logger กับคอมพิวเตอร์ และยังช่วยแจ้งเตือนไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องให้โดยอันโนมัติด้วย

          แม้ฝ่ายไอทีขององค์กรจะมีหน้าที่คอยดูแลและแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ให้แก่ผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ แต่ในความเป็นจริงอาจไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง วิธีที่ดีที่สุดคือ ให้ความรู้พนักงานได้เข้าใจถึงอันตรายและการป้องกันการโจมตีเหล่านี้ เพื่อให้พนักงานสามารถดูแลตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองได้ ผู้ไม่หวังดีก็จะเข้ามาขโมยข้อมูลได้ยากลำบากมากขึ้น

ที่มา  http://th.jobsdb.com/


จะเสียภาษีต้องมีเงินเดือนเท่าไร?

ภาษี หลายคนยังดูเป็นเรื่องยากและซับซ้อน บางคนยังไม่ทราบว่าเงินเดือนเท่าไรถึงจะต้องเสียภาษีด้วยซ้ำ งั้นเรามาหาคำตอบจากบทความนี้กัน
 

คน ธรรมดาอย่างเรา เค้าเสียภาษีกันยังไง เราคนธรรมดาไม่ได้ทำการค้าอะไร ไม่ได้ตั้งเป็นบริษัท แต่เป็นคนทำงานในบริษัทหรือหน่วยงานของรัฐ มีเงินเดือนที่นายจ้างจ่ายให้ทุกเดือนจะต้องเสียภาษี นายจ้างที่จ่ายเงินให้เราหน้าที่ของนายจ้างเมื่อมีการจ่ายเงินได้ เขาต้องหักเงินส่วนหนึ่งออกจากรายได้ของเราเป็นภาษี จ่ายให้เมื่อใดก็ให้หักไว้เมื่อนั้น แล้วมีหน้าที่นำภาษีที่หักไว้ส่งให้กรมสรรพากร
กฎหมาย กำหนดวิธีการคำนวณที่แตกต่างกันตามประเภทเงินที่เราได้รับเช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า คิดอย่างหนึ่ง เงินได้อื่นๆ คิดอีกแบบหนึ่งอัตราการหักภาษีก็ไม่เหมือนกัน เงินที่หักออกจากรายได้ของเรานี้ เราเรียกว่า “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย”

ความ หมาย “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” นายจ้างจ่ายเงินให้เราเมื่อไหร่ ก็หักเมื่อนั้น เป็นการหักภาษีในขณะที่จ่ายเงินให้เรา แต่หักภาษีตามอัตราที่กำหนด ไม่ได้หักหมด มันเป็นวิธีการเสียภาษีเงินได้วิธีหนึ่งที่กฎหมายกำหนด มีวิธีคิดตามประเภทเงินที่เราได้รับ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า คิดอย่างหนึ่ง แต่ถ้าเราได้รับเงินอื่นๆ เช่น ได้จากการที่เรารับจ้าง ได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารเขาจะคิดอีกแบบหนึ่ง อัตราการหักภาษีไม่เหมือนกัน

นาย หน้าจะต้องหักเงินภาษีไว้ทันทีที่มีการจ่ายเงินให้เรา แล้วยังต้องออกหนังสือรับรองไว้เป็นหลักฐานว่าได้หักเงินภาษีของเราไว้ เพื่อให้เรานำไปยื่นพร้อมกับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ที่ต้องยื่นชำระภาษี เงินได้ ตอนสิ้นปีเป็นหลักฐานว่าเราได้ถูกหักภาษีไว้แล้ว ซึ่งเป็นหน้าที่ของคนทุกคนที่มีรายได้ก็ต้องเสียภาษี เว้นแต่มีรายได้บางอย่างที่กฎหมายยกเว้นให้ก็ไม่ต้องถูกหักภาษีไว้ในขณะที่ มีการจ่าย

ผู้ มีเงินได้ต้องใช้แบบ ภงด.91 ในการยื่นภาษี โดยเกณฑ์เงินได้พึงประเมินที่เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี คือต้องมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท หรือ 240,000 บาทต่อปี เพราะเมื่อหักค่าใช้จ่าย 60,000 บาท และหักลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาทแล้ว จะเหลือเงินได้ที่ต้องเสียภาษี 150,000 บาท ซึ่งอยู่ในช่วงที่ไม่ต้องเสียภาษี แต่ หากใครมีส่วนลดหย่อน เช่นดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน ประกันชีวิต ฯลฯ ก็จะทำให้ฐานเงินเดือนเฉลี่ยต่อเดือนที่ไม่ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น เช่น นำดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน 50,000 มาเป็นค่าลดหย่อน จะทำให้ต้องมีเงินเดือนสูงกว่า 21,700 บาท ถึงจะเสียภาษีเป็นต้น

ฐานภาษีที่ใช้ในการคำนวณภาษี

โปรแกรมบัญชี MAC-5
รายได้ต่ำกว่า 150,000 บาท    ไม่ต้องเสียภาษี
รายได้สุทธิในช่วง 150,001 – 300,000 บาท เสียภาษี 5%
รายได้สุทธิในช่วง   300,001 – 500,000 บาท เสียภาษี 10%
รายได้สุทธิในช่วง 500,001 – 750,000 บาท เสียภาษี 15%
รายได้สุทธิในช่วง 750,001 – 1,000,000 บาท เสียภาษี 20%
รายได้สุทธิในช่วง 1,000,001 – 2,000,000 บาท เสียภาษี 25%
รายได้สุทธิในช่วง 2,000,001 – 4,000,000 บาท เสียภาษี 30%
รายได้สุทธิในช่วง 4,000,001 – 20,000,000 บาท เสียภาษี 35%
รายได้มากกว่า      20,000,001 บาทขึ้นไป เสียภาษี 37%

เขียนโดย; มนัสภร ประเสริฐ (ปอ)
อ้างอิงและเรียบเรียงข้อมูลจาก; http://www.google.co.th