วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วันออกพรรษาสำคัญอย่างไร ?



วันออกพรรษา

วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันเข้าพรรษา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" ในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย

เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัดวันออกพรรษาหนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสนครพร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย

นอกจากนี้ ช่วงเวลาออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถือเป็นเวลากฐินกาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปีในวัดต่าง ๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง

บทความจาก: th.wikipedia.org
รูปภาพจาก: http://hilight.kapook.com/view/26828
เรียบเรียงโดย: ต้นสนคู่
www.doublepine.co.th

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สมเด็จพระปิยมหาราช


สมเด็จพระปิยมหาราช 
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชา เป็นที่รักยิ่งของประชาชน ทรงนำประเทศชาติรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้น ของประเทศมหาอำนาจหลายครั้ง จนประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้น ทรงปรับปรุงประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า ทัดเทียมอารยะประเทศ ทรงโปรดให้เลิกทาส ให้มีการรถไฟ การไปรษณีย์ การไฟฟ้าและการประปาขึ้นเป็นครั้งแรก.



เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2558 ของทุกปี ขอน้อมถวายราชสดุดี ร่วมรำลึกถึงพระราชกรณียกิจต่างๆ และพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่ทรงได้ทำเพื่อพสกนิกรชาวไทย ทำให้ปวงชนชาวไทยได้อยู่เย็นเป็นสุขมาจนถึงทุกวันนี้

ทรงปกป้องทั่วทั้ง                   แผ่นดิน
สยามมิสูญสิ้น                        อยู่ได้
ชาวไทยต่างนึกคิด                  ระลึก  ถึงท่าน
เราต่างยังคงไว้                       อย่าได้  ลืมเลือน

บทความจาก: www.baanjomyut.com
รูปภาพจาก: http://m.dmc.tv/pages
เรียบเรียงโดยต้นสนคู่
www.doublepine.co.th

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

จุดเริ่มต้น.. เทศกาลกินเจ


จุดเริ่มต้น.. เทศกาลกินเจ

เทศกาลเจ เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 400 ปีมาแล้วในประเทศจีน ตามตำนานระบุว่า เกิดขึ้นในสมัยที่ชาวจีนถูกแมนจูเข้ามาปกครอง และบังคับชนชาติจีนยอมรับวัฒนธรรมของตน
สมัยนั้นเองมีคนจีนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันต่อต้านแมนจู โดยใช้หลักทางธรรมเข้าร่วมด้วย
ชาวจีนกลุ่มนี้นุ่งขาว ห่มขาว และไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ตามความเชื่อว่า การประพฤติปฏิบัติตามแนวทางนี้จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเองได้
คนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า หงี่หั่วท้วง แต่ท้ายที่สุดก็พ่ายแพ้ต่อแมนจู และพลีชีพไปจำนวนมาก
ทุกวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ชาวจีนที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของแมนจู จึงพร้อมใจกันถือศีลกินเจ เพื่อรำลึกถึง หงี่หั่วท้วง
นอกจากนั้น การกินเจยังเชื่อกันว่าเพื่อเป็นการสักการะพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมเป็น 9 พระองค์ หรือดาวนพเคราะห์ทั้ง 9

ในพิธีกรรมนี้งดเว้นการฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต หันมาบำเพ็ญศีล โดยตั้งปณิธานการกินเจ งดเว้นอาหารคาว เพื่อสมาทานศีลคือ
1. เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาบำรุงชีวิตของตน
2. เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาเพิ่มเลือดของตน
3. เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาเพิ่มเนื้อของตน

เทศกาลกินเจของคนเชื้อสายจีนในไทยก็เป็นไปตามความเชื่อข้างต้น คือเพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้า และเจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์

ที่มา: http://www.tlcthai.com/education/knowledge-online/15375.html
รูปภาพ: http://i.ytimg.com/ , FoodTravelTVChannel
เรียบเรียงโดย: ต้นสนคู่
www.doublepine.co.th

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

10 อาหารที่ไม่ควรกินบ่อย เสี่ยงสารเคมีสะสมก่อโรค



10 อาหารที่ไม่ควรกินบ่อย เสี่ยงสารเคมีสะสมก่อโรค

1. ไข่เยี่ยวม้า..ไข่เยี่ยวม้ามีตะกั่วค่อนข้างสูง ตะกั่วทำให้การดูดซึมแคลเซียมน้อยลง กินบ่อยๆ จะเสี่ยงโรคกระดูกโปร่งบางและอาจได้รับพิษตะกั่วเช่น สมองเสื่อม เป็นหมัน ฯลฯ
2. ปาท่องโก๋..กระบวนการทำปาท่องโก๋มีการใช้สารส้ม ซึ่งมีตะกั่วปนเปื้อน ตะกั่วทำให้ไตทำงานหนักในการขับสารนี้ออกไปนอกจากนั้นยังทำให้คอแห้ง เจ็บคอง่าย โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคร้อนในได้ง่าย
3. เนื้อย่าง..กระบวนการรมไฟ ย่างไฟทำให้เกิดสารเบนโซไพรีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
4. ผักดอง..ผักดองและของหมักเกลือทำให้ร่างกายได้รับเกลือโซเดียมสูง ถ้ากินบ่อยเกินหรือมากเกินจะทำให้หัวใจทำงานหนักเกิดความดันเลือดสูงและโรคหัวใจได้ง่าย นอกจากนั้นกระบวนการหมักดองยังทำให้เกิดสารแอมโมเนียมไนไตรด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
5. ตับหมู..ตับหมูมีโคเลสเตอรอลสูง การกินตับหมูบ่อยเกินหรือมากเกินทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เส้นเลือดสมอง (อัมพฤกษ์อัมพาต) และโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น
6. ผักโขม,ปวยเล้ง.. ผักโขมและปวยเล้งมีสารอาหารสูง ทว่า...มีกรดออกซาเลตมาก ทำให้เกิดการขับสังกะสี และแคลเซียมออกจากร่างกายมาก การกินบ่อยเกินหรือมากเกินอาจทำให้เกิดภาวะขาดแคลเซียมหรือสังกะสีได้
7. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป..บะหมี่สำเร็จรูปมีสารกัดบูด สารแต่งรสค่อนข้างสูง และมีคุณค่าทางอาหารต่ำ การกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากเกิน หรือบ่อยเกินอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคขาดอาหารและการสะสมสารพิษได้
8. เมล็ดทานตะวัน..เมล็ดทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงทว่า... การกินมากเกินหรือบ่อยเกินอาจทำให้กระบวนการเคมี (metabolism) ในร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับภาวะไขมันในตับสูงอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคตับ เช่น ตับแข็ง ฯลฯเพิ่มขึ้น
9. เต้าหู้หมัก,เต้าหู้ยี้..กระบวนการหมักเต้าหู้อาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่าย... ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคนสูงอายุ หรือเด็กเล็กได้ นอกจากนี้กระบวนการผลิตยังทำให้เกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่าง กาย
10. ผงชูรส..คนเราไม่ควรกินผงชูรสเกินวันละ 6 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา... การกินผงชูรสมากเกิน หรือบ่อยเกิน ทำให้เกิดภาวะกรดกลูตามิกในเลือดสูงอาจทำให้ปวดหัว ใจสั่น คลื่นไส้และมีผลเสียต่ออวัยวะสืบพันธุ์

อ้างอิงจาก : gracezone.org
รูปภาพจาก : th.wikipedia.org, food.mthai.com, toncid.com, women.thaiza.com, healthcarethai.com, bloggang.com, bestgreenland.com, civilschools.com, img.tarad.com, images.thaiza.com

เรียบเรียงโดย : ต้นสนคู่