วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กลยุทธ์ ก้าวใหม่ Microsoft

ณ เวลานี้บางท่านอาจทราบการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ของยักษ์ใหญ่วงการซอฟต์แวร์ กันไปแล้ว แต่หลายท่านก็อาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร แล้ว “กลยุทธ์” เกี่ยวอะไรกับ Microsoft
สืบ เนื่องจากเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา Microsoft ได้มีการประกาศเปิดตัวระบบปฎิบัติการ Windows เวอร์ชั่นใหม่ ที่ก่อนหน้านี้สื่อหลายสำนักต่างคาดการณ์ว่าจะใช้ชื่อ Windows 9 ถัดจาก Windows 7, 8 ตามลำดับ แต่ผิดคาด Microsoft ไม่สนใจการนับลำดับปกติดังกล่าว แต่กลับใช้ชื่อว่า Windows 10 
 
 
แต่ ที่ทำให้ผมสนใจหลังจากได้ทราบข้อมูลดังกล่าว ไม่ใช่ คุณสมบัติอะไรที่เพิ่มขึ้น หรือมีให้โหลดทดลองใช้งานวันไหน แต่กลับสงสัยว่า “ทำไม? เพราะอะไร? Microsoft จึงตัดสินใจใช้ชื่อเวอร์ชั่นใหม่เป็น Windows 10”...และแน่นอนครับสิ่งแรกหลังจากทราบข้อมูลจากสื่อ Internet เราควรยืนยันให้แน่ใจก่อนว่าข้อมูลที่ได้รับนั่นถูกต้อง ซึ่งสามารถยืนยันได้จาก http://preview.windows.com 
 
และ ข้อมูลที่พอจะใช้ประกอบ เพื่อยืนยันและตอบข้อสงสัยของผมก็มาจากคำประกอบภาพ One product family, One platform, One store และจากคลิปที่ชื่อว่า “A First Look at Windows 10” ใน YouTube ซึ่งเป็นคลิปงานประกาศเปิดตัว Windows 10 โดย Terry Myerson : Executive Vice president Operating Systems ของ Microsoft ได้กล่าวในช่วงหนึ่งว่า “One Microsoft Strategy” ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ Microsoft ประกาศใช้เมื่อต้นปีนี้ และเขายังกล่าวอีกว่า ด้วยกลยุทธ์ดังกล่าวก็น่าจะตั้งชื่อเวอร์ชั่นใหม่เป็น Windows One เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ตัวอื่น เช่น Xbox One, OneNote, OneDrive แต่ชื่อดังกล่าวก็มีการใช้งานไปแล้ว และด้วยเหตุผลว่า Windows เวอร์ชั่นนี้จะเป็นการก้าวสู่ยุคใหม่ของ Microsoft จึงตั้งชื่อว่า Windows 10 เพื่อสร้างความแตกต่าง
 
จาก ข้อมูลทั้งหมดตามความเห็นของผมก็พอจะสรุปได้ว่า Microsoft ต้องการจะสื่อคือ ระบบปฎิบัติการที่สูงกว่ารุ่นก่อน (Windows 8) ตามแนวทางกลยุทธ์ขององค์กร (One = 1) และเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อก้าวสู่ยุคใหม่ของระบบปฎิบัติการ (0) จึงเกิดเป็น Windows 10
 
ทั้ง หมดนี้จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่า “กลยุทธ์” (Strategy) มีความจำเป็นต่อการดำเนินงาน และตัวกำหนดทิศทางขององค์กร แต่เหนืออื่นใดทุกคนในองค์กรต้องเข้าใจ และสามารถนำกลยุทธ์นั้นมาใช้ให้เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่เพียงแต่เขียนไว้ในกระดาษหรือประกาศในที่ประชุม ..ขอบคุณครับ

ผู้เขียน; เอกพล ซ้ายเกลี้ยง (เอก)
DPine Suite by Doublepine

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ยุทธศาสตร์การค้า “Differentiation Strategy”

            ยุทธศาสตร์การค้าเพื่อสร้างความได้เปรียบในธุรกิจการที่ธุรกิจจะเติบโตได้มีกำไร และมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งสำหรับการบริหารงานแบบเดิมๆ โดยมุ่งเน้นในเรื่องของผลิตภัณฑ์ ต้นทุน หรือเน้นการขนส่งอาจได้ผลมากในการทำธุรกิจยุคก่อน แต่ปัจจุบันหากต้องการสร้างความได้เปรียบให้มากขึ้น จำเป็นที่จะต้องสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้น เราอาจคุ้นหูกับคำว่า “Differentiation Strategy” กลยุทธ์เพื่อสร้างความแตกต่างในตราสินค้า

Differentiation หรือกลยุทธ์การแข่งขันที่ความแตกต่างของสินคา/บริการในตลาดขนาดใหญ่เป็นกลยุทธ์การขายสินค้า การบริการที่มีความแตกต่างจากคูแข่งให้แกผู้บริโภคในตลาดขนาดใหญ่ “ความแตกต่าง” ในที่นี้  หมายถึง ความยืดหยุนของผลิตภัณฑ์บริการที่ดีความง่ายในการบำรุงรักษา ความคงทน ความง่ายในการใช้งานอะไหล่ที่หาง่าย ความประหยัด หรือคุณลักษณะที่ดีกว่า เป็นต้น การผลิตสินค้า และบริการ ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่เหมือนกับสินค้าที่มีทั่วไป ทำให้สามารถตั้งราคาสินค้า/บริการได้สูงกว่า และยังสามารถสร้างความภัคดีต่อตราสินค้าให้เกิดขึ้นได้ เนื่องจากลูกค้าเคยชินกับความแตกต่างของสินค้าที่ไม่สามารถหาทดแทนจากสินค้าของคู่แข่งได้


         สิ่งที่จำเป็นสำหรับการใช้กลยุทธ์ Differentiation จะต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องเทคโนโลยี รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของ Trend ในอนาคต อาจต้องมีหัว Create บ้าง ตัวอย่างของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากการดำเนินกลยุทธ์ Differentiation อาทิเช่น 

         สิงคโปร์แอร์ไลน์  เป็นสายการบินที่คนใช้บริการมากในอันดับต้น ๆ ของโลก สิ่งที่แตกต่างก็คือ ทุกสายการบินมักจะสื่อถึงเรื่องความสามารถของเครื่องบิน ความชำนาญของนักบิน การขยายเส้นทาง แต่ถ้ามองกลยุทธ์ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ เขาถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็น Standard Benefit  ซึ่งทุกสายการบินจะต้องมี สิ่งที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ทำ คือ การสร้างความแตกต่างภายในเครื่องบิน อย่างเครื่องโบอิ้ง 747 เหมือนกัน แต่สิงคโปร์แอร์ไลน์ เอามาปรับเบาะข้างในใหม่หมดให้นุ่มสบายกว่า เน้นเรื่องเมนูอาหารที่หลากหลาย มีพนักงานให้บริการจำนวนมาก และการบริการที่ดีกว่า ด้วยการคัดสรรพนักงานต้อนรับบนเครื่องให้มีความสวยงามแบบเอเชีย ใส่ชุด Sarong Kabaya  ออกแบบโดย ปิแอร์ บัลแมง และสโลแกนของสิงคโปร์แอร์ไลน์ช่วงหนึ่ง คือ “In flight service even other airlines talk about” หรือ ให้บริการที่ดีกว่าที่สายการบินทุกสายพูดถึง ซึ่งเหล่านี้ถือว่าเป็น Extra Benefit

         ซีเลค ทูน่า ที่หยิบเอาเรื่องไขมันต่ำ กินแล้วไม่อ้วนมาพูด ก็ถือว่าเป็นการสร้าง Differentiate ให้กับสินค้าได้ เพราะปลาทูน่ายี่ห้ออื่นไม่เคยหยิบประเด็นนี้มาพูด มักพูดถึงแต่รสชาติ คุณค่าทางโภชนการ หรือเรื่อง DHA

        แชมพู Head & Shoulder ซึ่งเป็นแชมพูขจัดรังแค ใช้คุณสมบัติที่เป็นแชมพูขจัดรังแคที่ป้องกันการเกิดรังแคด้วย มาสร้าง Extra Benefit ให้กับสินค้า ส่วน Fringe Benefit ก็คือสระแล้วเย็น ซึ่งจริง ๆ แล้วถ้าไม่เย็นก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเย็นก็ดูดีขึ้นมา
แล้วคุณได้ลองสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ของคุณแล้วรึยัง